วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย
            นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ หรือการนำสิ่งเก่า สิ่งที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
ชื่อนวัตกรรม   เกมการศึกษา “เกมภาพผลไม้ที่หนูรู้จัก”
ชื่อผู้สร้าง         นางศศิธร คำอิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่สอด สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำ
                          ไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โทรศัพท์ 082 – 8777530
ลักษณะของนวัตกรรม
               เกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาภาษาอารมณ์ สติปัญญาไปพร้อมกับกฎกติกาง่ายๆ เด็กเล่นเป็นกลุ่ม 2-4 คนได้ ช่วยให้เด็กรู้จักรสชาติ รูปร่างสีของผลไม้สิ่งที่เด็กเห็นเป็นประจำ เพิ่มการสังเกตของเด็กได้ เกมการศึกษาผลไม้ที่หนูรู้จักสามารถจัดได้ทุกกลุ่มอายุ เพิ่มทักษาให้กับเด็กในการรู้จักผลไม้ มีประโยชน์กับครูผู้สอนซึ่งสื่อช่วยให้มีการจัดกิจกรรมด้วย
เกมภาพผลไม้แบบเดิม

            ซึ่งจากปัญหาที่พบนั้น รูปภาพผลไม้มีขนาดเล็ก เด็กๆมีการเล่นเป็นกลุ่มไม่สามารถมองได้ทุกคน และภาพผลไม้นั้นเป็นภาพที่เด็กๆไม่ค่อยเห็นผลไม้ชนิดนั้นสักเท่าไร จึงไม่เข้าใจคำสั่งของครู ภาพแต่ละภาพไม่มีความสมจริงเป็นภาพวาดซึ่งเด็กอาจจะไม่สามารถแยกแยะออกได้ สื่อไม่มีความทนทานต่อการดึงไปมาของเด็กได้

                                                                                        เกมภาพอันเดิม


เกมภาพอันใหม่

นวัตกรรมเกมการศึกษาแบบใหม่
                  เกมภาพผลไม้ที่หนูรู้จัก เป็นเกมที่เด็กสามารถเรียนรู้จากภาพผลไม้ได้อย่างไม่ยากเพราะเป็นภาพผลไม้ที่อยู่รอบๆตัวเด็กที่เห็นในชีวิตประจำวัน เช่น กล้วย แอปเปิ้ล แตงโม ส้ม ซึ่งเด็กสามารถเล่นได้ดีและมองเห็นภาพผลไม้ได้อย่างชัดเจน หากเล่นเป็นกลุ่มก็สามารถมองเห็นภาพผลไม้ได้อย่างดี เด็กๆให้ความสนใจมากขึ้นเพราะมองเห็นภาพผลไม้ได้และสามารถเปรียบเทียบจำแนกลักษณะของผลไม้ได้ดียิ่งขึ้น สื่อมีความทนทานมากขึ้น ทำให้เด็กกล้าที่จะเล่นเกมมากขึ้นไม่ต้องเกรงว่าสื่อจะเสียหายซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเด็กและครูผู้สอนเองด้วย





หลักการทฤษฏีที่ใช้
               แนวคิดของจอห์น ดิวอี้ (Dewey 1859-1952) นักปรัชญาทางการศึกษา สาขาปฏิบัตินิยมชาวอเมริกา ที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา เป็นการพัฒนาในตัวปัจเจกบุคคลโดยผ่านกิจกรรม ประสบการณ์ ทักษะและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกที่เปลี่ยนแปลง พร้อมที่ดำรงชีวิตในสังคมความหมายของการศึกษาจึงหมายถึงความเจริญงอกงามทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และคุณธรรมที่เกิดต่อเนื่องไร้จุจบ เป็นการพัฒนาตลอดชีวิต
               นอกจานี้วิธีการศึกษาใช้วิธีสอนโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง เด็กเลือกกิจกรรมด้วยตัวเองและได้รับประสบการณ์ตรง เนื้อหาวิชามีลักษณะบูรณาการครูจะเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตและให้คำแนะนำโดยเลือกสภาพที่เหมาะสมให้กับตัวเอง เพื่อพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละคน (ที่มา : เอกสารชุดวิชา ECED402 นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย)
วัตถุประสงค์ของการทำนวัตกรรม
1.         เพื่อให้เด็กได้พัฒนาสมองทางด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม การแก้ปัญหาในการเล่นเกม
2.         เพื่อให้เด็กเข้าใจกติกาต่างๆในการเล่นเกมเป็นกลุ่ม และรู้จักการรอคอยที่จะเล่นเกม
3.         เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในสื่อการศึกษาที่ได้จัดมากขึ้น
4.         นวัตกรรมการศึกษานี้ช่วยให้เพิ่มเสริมประสมการณ์ของครูได้อีกด้วย


ลำดับขั้นตอนของการจัดกิจกรรม
ขั้นนำ                                                   
1.         ครูจะสนทนากับเด็กๆเกี่ยวกับเกมภาพผลไม้ต่างๆ
2.         ครูจะให้เด็กสังเกตภาพผลไม้พร้อมอธิบายว่าผลไม้ชนิดนี้มีรสชาดอย่างไร และเด็กสนใจภาพใดบ้าง
ขั้นสอน
1.         ครูอธิบายกติกาเกมภาพผลไม้ให้กับเด็กเพื่อความเข้าใจในการเล่นเกม
2.         แต่ละกลุ่มจะมีผู้เล่น 2 คนต่อ 1 กลุ่มจัดกลุ่มแต่ละกลุ่มเพื่อทลายกลุ่มในห้องเรียนได้อีกด้วย
3.         ในช่วงแรกเด็กอาจจะยังเข้าใจกติกาการเล่นเกม ครูจึงแนะนำและสังเกตการณ์เล่นไปพร้อมๆกันอีกด้วย เพื่อทุกคนจึงสามารถเล่นได้ทุกกลุ่มอายุและทั่วถึงทุกคนด้วย
ขั้นสรุป
1.         ครูสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาจดบันทึกผลการจัดกิจกรรม
2.         ครูสรุปผลการจดบันทึกและเข้าร่วมการเล่นเกมผลไม้
3.         ครูและเด็กร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
ผลการดำเนินงาน
1.         เด็กมีความสนใจเกมภาพผลไม้มากขึ้นและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี
2.         เด็กมีการพัฒนาการทางด้านภาษาและรู้จักสังเกตสิ่งรอบๆตัวมากขึ้น
3.         เด็กได้รู้จักการรอคอย มีความเคารพต่อการเล่นเกมมากขึ้น ทั้งเรื่องการเล่นเป็นกลุ่ม รู้จักการแบ่งปันมีน้ำใจให้ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น